วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 

ความรู้ที่ได้รับ

     ช่วยกันทำปฏิทินให้เสร็จซึ่งใรการทำก็อาจจะมีอุปสรรคบ้างเพราะเวลาจำกัดแต่ทุกคนก็พยายามช่วยกันเป็นอย่างดีและ วันนี้อาจารย์ให้ส่งบอร์ดปฏิทินและนำเสนอเกมคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่ม พร้อมติวในการสอบ  
 วิธีการเล่น 
1. นำตัวเลขต่างๆมาตั้งโจทย์
2. และการตอบคำถามโดยการใช้ตะเกียบตอบเป็นตัวเลข


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560 

ความรู้ที่ได้รับ

     คุณครูให้นักศึกษานำแผนการสอนของกลุ่มตนเองตั้งแต่แผนการสอนของวันจันทร์วันจันทร์ - วันศุกร์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยคนที่เขียนแผนที่วันเดียวกับเพื่อนให้ดูของเพื่อนเป็นตัวอย่าง เพราะแต่ละวันจะออกแนวกับสอนคล้ายๆกัน ซึ่งเพื่อนๆเป็นนักเรียนเพื่อสามารถดำเนินแผนการสอนให้เข้าใจกันมากยิ่งขึ้น

การบันทีกการเรียนครั้งที่ 13

วันพุธที่  19 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ
การศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และคุณครูให้นักศึกษาตอบคำถามลงในกระดาษ เกี่ยวกับเรื่องการนับ การแยกจำนวนออกจากกลุ่มใหญ่ การแยกจำนวนจากกลุ่มย่อยเป็นกลุ่มใหญ่ และการเปรียบเทียบมากกว่าน้อยกว่า โดยครูให้บอกและยกตัวอย่างสามารถอธิบายวิธีการสอนของคุณครูด้วย โดยแนะนำ อธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น ถ้าคนไหนยังอธิบายผิดคุณครูก็จะช่วยแก้ให้ถูกมากยิ่งขึ้น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันพุธที่ 29 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


หลักสูตรเป็นแนวทางเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ให้เป็นคนดี มีประสิทธิภาพ

สาระที่ควรเรียนรู้

- ประสบการณืสำคัญ
- สาระที่ควรเรียนรู้

ประสบการณ์สำคัญ

ร่างกาย       - การเคลื่อนไหว 
อารมณ์       - การแสดงความรู้สึก
                  - การรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น / ตอบโต้
สังคม         -  คุณธรรม  จริยธรรม
                  - เมื่อเด็กทำได้ก็จะเกิดความเชื่อมั่น
สติปัญญา   - สามารถอธิบาย
                  - ภาษา   ----> ฟัง
                                ----> พูด
                                ----> อ่าน 
                                ---->  เขียน
                  - การคิด  ----> สร้างสรรค์
                                ---->  เหตุผล  ----> คณิตศาสตร์
                                                     ----> วิทยาศาสตร์

วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2560


เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจจึงให้นักศึกษาทำงานกันอยู่ที่ห้อง




วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


     อาจารย์แจกกระดาษให้วาดรูปทรงที่ตนเองชอบ จากนั้นให้ออกไปหยิบไม้และดินน้ำมัน มาทำให้เป็นรูป 3 มิติ แล้วนำรูปของตนเองไปประกอบรวมกับของเพื่อนอีก 1 คน เพื่อวิเคราะห์การนับ การแทนตัวเลข เรขาคณิต ว่าแต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ
การคาดคะเนลูกอมในขวดโหลว่ามีทั้งหมดกี่เม็ด ทำให้เด็กได้ฝึกการใช้ความคิดแบบวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ซึ่งสอดคล้องกับสาระที่ 4 มาตรฐาน ค.ป. 4.1
ใช้เกณฑ์ในการแบ่งจำนวน เช่น ในรูปมีกระดุมอยู่ 9 เม็ด  จะใช้เกณฑ์ว่ามีกระดุมที่มีสีขาวกับกระดุมที่ไม่มีสีขาวแบบไหนมีเยอะกว่ากัน เด็กจะสังเกตและนับจำนวนว่าแบบใดมีเยอะกว่ากัน และจะตอบได้ว่า กระดุมที่มีสีขาวมีจำนวนมากกว่ากระดุมที่ไม่มีสีขาวอยู่จำนวน 3 เม็ด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ 
      การนำสิ่งที่มีอยู่ในชีวิตประจำวันมาปรับใช้ในการสอนได้หลายรูปแบบ แจ่อย่างไรก็ตามต้องนึกถึงตัวเด็กเป็นหลัก รวมถึงต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วย

วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8

วันพุธที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2560

สื่อคณิตศาสตร์


อุปกรณ์ที่ใช้
                 1. กระดาษแข็ง
                 2. กระดาษสี 
                 3. ปากกาเมจิก
                 4. กาว
                 5. กรรไกร
                 6.พลาสติกใส
                 7.สก็อตเทปใส

                 8.ไม้บรรทัด
ขั้นตอนการ
 1. นำกระดาษแข็งมาตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
2.นำกระดาษสีมาตัดเป็นรูปทรงๆ แต่ให้สามารถนำมาติดแปะบนลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่เราเตรียมไว้
3.นำกระดาษสีรูปต่างๆมาติดลงบนกระดาษแข็ง
4.นำปากกาเมจิกมาตีตาราง
5.นำกรรไกรตัดตรงรอยเมจิกที่ตีตารางไว้
6.นำรูปทรงที่ตัดแล้วแต่ละชิ้นมาห่อหุ้มด้วยพลาสติกใส

ลักษณะของสื่อ
สื่อชิ้นนี้มีลักษณะเป็นกระดาษที่หุ้มด้วยพลาสติกใสจึงไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก และเล่นได้ง่าย สามารถฝึกทักษะการเรียนรู้ด้านรูปทรงต่างๆ และรู้จักสี  สามารถนำมาต่อตามจินตนาการของเด็กได้หลากหลาย  ทำให้เด็กได้มีการพัฒนาการทางด้าน  การคิด การวางแผน 

การพัฒนา
   1. ด้านร่างกาย : ฝึกการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
   2. ด้านอารมณ์ : เด็กเกิดความสนุกสนาน
   3. ด้านสังคม : สามารถเล่นร่วมกับเพื่อนๆในห้องได้
   4. ด้านสติปัญญา : เด็กเกิดการเรียนรู้เรื่องรูปทรง    ฝึกการคิดและการวางแผน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

Project Apptoach" ในหลวง" 

แบ่งตามการดำเนินการเป็น 3 ระยะ  ได้แก่

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้น ครูและเด็กแลกเปลี่ยนประสบการณ์เดิม ตั้งคำถาม และ
ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา ครูจัดโครงการขึ้นมา ทำให้เด็กได้ประสบการณ์ใหม่
ระยะที่ 3 ระยะสรุป ครูและเด็กแลกเปลี่ยนความคิดจากการทำไข่พระอาทิตย์

สื่อนวัตกรรมการสอน

สื่อที่มีคุณภาพสื่อพังได้ยากเพราะเด็กส่วนใหญ่ยังไม่ระมัดระวังในการใช้สื่อ สื่อควรจะทำให้สามารถดึงดูเด็กให้สนใจ

แผนจัดการเรียนรู้

โรงเรียนของเอกชน โรงเรียนรัฐ โรงเรียนของกทม.มีการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็อาจจะต่างกันไม่เยอะ มีแบบแผนที่เขียนต่างกัน แต่ละโรงก็เน้นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กเหมือนกัน

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันพุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 3 : เรขาคณิตศาสตร์
              มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักการใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
เช่น
-ตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติ
-ทรงกลม รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก กรวย ทรงกระบอก
-รูปวงกลมรู้สามเหลี่ยม และรูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์ผลงาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและสองมิติ

สาระที่ 4 : พีชคณิต
             มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจในแบบรูปและความสัมพันธ์
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
           มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลี่เกี่ยวข้องกับตนเอง สิ่งแวดล้อม และการนำเสนอ
สาระที่ 6 : ทักษะและการกระบวนการทางคณิตศาสตร์
- การแก้ปัญหา การให้เหตุผล

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันพุธ ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ

           มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
เช่น
จำนวน
การอ่านตัวเลข
การใช้บอกจำนวน
การเปรียบเทียบจำนวน
การเรียงลำดับจำนวน
การรวม และ การแยกกลุ่ม


สาระที่ 2  : การวัด

   มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา

เช่น

ความยาว น้ำหนัก และปริมาตร
- การเปรียบเทียบ /การวัด/การเรียนลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบ /การชั่ง / การเรียงลำดับความยาว
- การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง
เวลา
- ช่วงเวลาของแต่ละวัน

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันพุธที่   1 กุมภาพันธ์ 2560

ความรู้ที่ได้รับ

ความรู้เชิงคณิตศาสตร์เกี่ยวข้องกับความรู้ 4 ประเภท
- ความรู้ทางกายภาพ
-ความรู้ทางสังคม (Social Knowledge )
- ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์ (Logical-mathematic Knowledge)
-ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Knowledge)


ความรู้ทางกายภาพ 
  รวมสมบัติทางกายภาพของวัตถุไว้ด้วยกันทั้งหมด เช่น สี พื้นผิว  อุณภูมิ  น้ำหนัก

ความรู้ทางสังคม(Social Knowledge )
เป็นความรู้ที่ได้รับจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นสิ่งที่เราได้รับจากการเรียนรู้

ความรู้เชิงตรรกศาสตร์คณิตศาสตร์(Logical-mathematic Knowledge)
การเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆจากการสังเกต  สำรวจ และการทดลองกระทำกับสิ่งต่างๆเพื่อจัดระบบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น

ความรู้เชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Knowledge)
เป็นความรู้เกี่ยวกับวิธีการแสดงสิ่งที่เรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ ต้องอาศัยการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับสิ่งนั้นและสามารถสร้างเป็นความรู้เชิงตรรกะศาสตร์คณิตศาสตร์โดยมีความเข้าใจสามารถนำสิ่งอื่นหรือสัญลักษณ์มาแทนได้


สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

-สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
-สาระที่ 2 การวัด
-สาระที่ 3 เรขาคณิต
-สาระที่ 4 พีชคณิต
-สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

**สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เมื่อฝึกสอนได้

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันพุธที่  25  มกราคม พ.ศ.2560


ความรู้ที่ได้รับ

-ความหมายของคณิตศาสตร์ คือ วิชาที่มีการคำนวณและมีความสัมพันธ์กับการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์
- ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่
- ความสำคัญของวิชาคณิตศาสตร์ทำให้เด็กรู้จักแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดคำนวณ
-ทักษะคณิตศาสตร์ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์เบื้องต้น เช่น  การจักรู้เปรียบเทียบ  การจัดหมวดหมู่  ช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจใยความหมายของสัญลักษ์ต่างๆ สามารถใ้ภาษากับวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง


การนำไปใช้

- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้สอนกับเด็กในอนาคตได้
- ทำให้เป็นคนมีความคิดวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา
- สามารถรู้แนวทางในการสอนคณิตสำหรับเด็กปฐมวัยได้

วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ.2560

ความหมายของพัฒนาการ

พัฒนาการ หมายถึง  การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละขั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชั้นต่อไป

- คุณภาพของพัฒนาการแต่ละคนอาจแตกต่างกัน

ความหมายและประโยชน์ของการเรียนรู้

- การเรียนรู้ คือ กระบวนการของประสบการณ์ที่ทำให้เกิดการแปลงพฤติกรรม
- การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อที่จะอยู่รอดในสังคม

พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร

- สมองมีการทำงานมีเครื่องมือโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ฟัง ชิม จับ  ความรู้เดิม +ความรู้ใหม่ จะเกิดการเรียนรู้ใหม่ขึ้นมา ต้องมีการรับรู้ถึงจะเรียนรู้ได้

พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจตต์ บรูเนอร์ ไวสกอตกี้มีลักษณะอย่างไร

- เพียเจตต์ เรียนรู้จากการกระทำ

-บรูเนอร์     เรียนรู้จากการคิด   เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างภาพมโนทัศน์

- ไวสกอตกี้  เรียนรู้โดยปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม

การอนุรักษ์

เด็กสามารถพัฒนาการอนุรักษ์ได้โดย

- การนับ
-การจับคู่
-การเรียงลำดับ
-การจัดกลุ่ม
-การเปรียบเทีบยรูปทรงปริมาตร

****  เมื่อเรารู้แล้ว  เลือกสาระที่เหมาะสมและทักษะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
**** หากเด็กเอาความรู้ออกมาใช้ด้วยพฤติกรรมใหม่แสดงว่า เด็กเกิดการเรียนรู้

วิธีทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

- ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยเครื่องมือประสลการณ?
- การ เล่น วิธีการเรียนรู้

****  เมื่อเรารู้แล้ว  จัดประสบการณ์ด้วยวิธีการที่สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ.2560

ประสบการณ์ของเด็ก นิยามเหมือนกับคำว่า "เล่น"

การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

วิธีการเรียนรู้

เด็กเรียนรู้ประสบการณ์ด้วยการเล่น สามารถลงมือปฏิบัติโดยประสาททั้ง 5 อย่างอิสระ เกิดประสบการณ์จากการเรียนรู้ ทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเมื่อได้เกิดเรียนรู้

พัฒนาการ

คือ  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง แต่ละขั้นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชั้นต่อไป

การจัดประสบการณ์

การจัดประสบการณ์ต้องสอดคล้องกับการเรียนรู้ตามพัฒนาตามลำดับ

คณิตศาสตร์